ขั้นตอนการเขียนภาพสีน้ำ บรรยากาศยามเย็น

ขั้นตอนการเขียนภาพสีน้ำ บรรยากาศยามเย็น

บรรยากาศยามเย็นนั้นมีความสวยงาม ทั้งในเรื่องของสีสันและแสงเงา และสร้างความประทับใจแก่ผู็ที่ชมเป็นอย่างมาก


วันนี้ผมจึงนำขั้นตอนสาธิตภาพสีน้ำที่ผมเขียน พร้อมอธิบายขั้นตอนอย่างละเอียดครับ
มาลองทำตามกันครับ


Step - 01
.
ร่างภาพบางๆด้วยดินสอ HB เพื่อที่ว่าเวลาเราลงสีแล้ว สีจะทับลายเส้นจนมองเห็นเพียงเล็กน้อย
.
เสร็จแล้วลงน้ำเปล่าบนกระดาษให้ทั่วพอหมาด หรือ จะไช้ฟ็อกกี้ฉีดน้ำพอหมาดแล้วใช้พู่กันแบนขนาดใหญ่ (พู่กัน Hake) ปาดน้ำให้ทั่วกระดาษแล้วปล่อยไว้ให้แห้งสักพัก เพื่อเวลาเราลงสีกระดาษจะแห้งช้าลง ทำให้เราลงสีด้วยเทคนิคเปียกบนเปียกได้ง่ายขึ้น

 

Step - 02
.
ในการเขียนภาพสีน้ำทิวทัศน์ โดยส่วนใหญ่จะทำการลงสีท้องฟ้าเป็นอันดับแรก
.
ลองน้ำสะอาดบริเวณท้องฟ้าให้ทั่วด้วยพู่กัน Hake
.
ลงสีเหลือง + สีส้ม + สีน้ำเงิน Cobalt blue ผสมสีส้มนิดๆ เพื่อเป็นการเบรกสีและหม่นลงเล็กน้อย ด้วยเทคนิคเปียกบนเปียก โดยมีการเว้นพื้นที่ขาว ให้สีได้วิ่งกระจายตัวเอง แล้วปล่อยให้แห้งสนิท
.
การเว้นขาวให้สีวิ่ง ฟุ้ง ในบางจุดจะทำให้ ภาพดูมีอากาศ

 

Step - 03
.
ระบายน้ำสะอาดบริเวณพื้นน้ำด้านล่าง และลงสีพื้นน้ำโดยใช้สีที่ระบายท้องฟ้า แต่เข้นและข้นขึ้นเล็กน้อย และ ลงสีภูเขาและรายละเอียดต่างๆ ด้วยเทคนิคเปียกบนเปียก

 

Step - 04
.
ลงสีภูเขาระยะไกล ด้วยเทคนิคเปียกบนแห้ง
.
สีที่ใช้คือ ม่วงผสมน้ำเงิน ไล่ไปหาม่วงผสมส้มเล็กน้อย
.
โดยในระยะนี้ให้สีมีความเข้มเท่ากับพ้นน้ำด้านล่างของภาพโดยประมาณ
.
ทิ้งไว้จนแห้ง

 

Step - 05
.
ลงสีภูเขาในระยะถัดมาด้วยสีม่วงผสมสีน้ำเงิน ด้วยเทคนิคเปียกบนแห้ง

 

Step - 06
.
ลงสีตึกรามบ้านช่องในระยะกลางด้วยสีที่เข้มขึ้น และจะมีส่วนผสมของสีส้มเพิ่มเข้ามา เพื่อผลักระยะให้ภาพดูไกล้เข้ามา

 

Step - 07
.
ลงสีต้นไม้และพื้นดิน ด้วยเทคนิคเปียกบนแห้ง และ เพื้มสีไกล้เคียงในขณะที่กระดาษยังเปียกอยู่ เพื่อให้ภาพดูไม่น่าเบื่อ

 

Step - 08
.
เก็บรายละเอียดเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ภาพ
.
เสร็จสมบูรณ์

 


หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่พี่น้องที่รักสีน้ำทุกท่านครับ

มาเขียนสีน้ำกันครับ



บุ๊ค ชัยนุวัตร